วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มารู้จักกับ MK802 กันดีกว่า

MK802 Review

มารู้จักกับ MK802 กันดีกว่า


หลังจากที่ได้รู้จักกับ Raspberry Pi กันไปเรียบร้อยแล้ว เรามารู้จักคู่ปรับที่สูสีกับ Raspberry Pi กันดีกว่า
ซึ่งนั่นก็คือ MK802 ซึ่งเป็น Embedded อีกตัวนึงที่น่าสนไม่แพ้กันเลย ถ้าเทียบการใช้งานแล้ว
ยกให้ MK802 เลยครับ เพราะว่ามีรูปร่างที่เล็กกว่า สเป๊กที่สูงกว่า แต่ข้อเสียก็คือมี Port ติดต่อน้อย
มีแค่ USB HOST, USB OTG, Wireless Lan, Serial Port (Debugger อยู่ในวงจรต้องต่อเพื่อใช้งานเอง)
ไม่มี GPIO เหมือนกับ Raspberry Pi ส่วนราคาก็สูสีกันเลยครับ

ตอนนี้ MK802 ได้พัฒนาต่อยอดไปเป็น MK803, MK808, GK802 ไปเรียบร้อยแล้วครับ
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของ MK802 นะครับเพราะว่าผู้เขียนใช้ตัวนี้อยู่
ใครมีโปรเจคที่น่าสนใจก็สามารถแชร์ความรู้กันทาง gtalk หรือทางเมลล์ได้นะครับ
olekhanchai@gmail.com หรือสนใจอุปกรณ์สามารถเข้าสั่งซื้อได้ในเว็บ www.hobbyembshop.biz

MK802 - Specifications

Model No. AK-212MiniPC
CPU Allwinner A10 1.0GHz Cortex-A8 + 500Hz GPU
GPU 2D / 3D / OpenGL ES2.0 (AMD Z430) / OpenVG1.1 (AMD Z160) @ 27M Tri/s
Operating System Android 4.0
DDR RAM 512MB / 1GB DDR3 (actual available memory is slightly less due to reserved memory)
Nand Flash 4GB (1GB used by system)
Network Wireless 802.11b/g, WAPI (Ralink8188)
Storage External storage via USB and microSD
Language Both Chinese and English packaging versions have the full Android language list when setting up, including English
USB Interface USB 2.0 host x 2, USB storage device
Video formats and decoders MKV, TS, TP, M2TS, RM, RMVB, BD-ISO, AVI, VOB, DAT, ASF, TRP, FLV, WMV, ASF, MP4, 3GP, MPEG 1/2/4, H.264, H.263, VC-1, DivX, Xvid, MJPEG, RV10
Audio formats AAC, AAC+, eAAC+, AMR-NB, AMR-WB, QCP, MP3, WMA, WAV, MIDI, M4A
Video output Available in Android: 720P, 576P, 480P Hardware support but not in Android yet: 1080P, Super HD 2160P, 3D Film
Interfaces HDMI1, USB-HOST, USB OTG (plugging external devices into the MK802), microSD
Image formats JPG, BMP, GIF, TIFF, PNG
Subtitle formats SRT, SUB, IDX, SSA, SMI
Power adapter External adapter 5V/2A output, 110-240V input, two wire US plug
Dimensions 88.5 x 35 x 13.4 mm
Weight 300 grams with accessories
Package contents Both the Chinese and English version packages come with a MK802 device, a charger, an HDMI cable, a USB cable and a USB adapter.

ส่วนหน้าตาตอนซื้อมา กล่องก็ประมาณนี้เลยครับ


หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ MK802 แล้วเราก็มาแกะกล่องยลโฉมกันเลยดีกว่า


จากนั้นก็ต่ออุปกรณ์ที่ให้มาได้เลย ตามรูปครับ


หลังจากได้ต่ออุปกรณ์ภายในกล่องหมดแล้วก็ขอแนะนำอุปกรณ์นอกกล่องอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ Mouse+Keyboard
ในที่นี้ผู้เขียนขอใช้เป็น usb wireless Mouse+Keyboard ก็แล้วกันนะครับ (สะดวกดี) แต่ถ้าไม่มีใช้ USB OTG กับ USB HOST
ที่มีอยู่เสียบ Mouse กับ Keyboard ก็ได้เช่นกัน แต่จะไม่เหลือช่องเสียบอุปกรณ์อย่างอื่น
หรือว่าจะใช้เป็น USB HUB มาต่อเพื่อขยาย Ports ใช้งานก็ได้เหมือนกัน


เมื่อเชื่อมต่อกับ TV แล้วทำการเปิดเครื่องก็จะเข้าสู่ Android 4.0 ดังที่ได้แสดงไว้ในกล่องซึ่งจะเห็น Boot Logo ประมาณนี้ครับ


แล้วก็เข้าสู่หน้าจอของการโหลด Android


และสุดท้ายก็จะเข้าหน้าต่าง Android 4.0 ที่เหมือนกับโทรศัพท์ทั่วไป ส่วนรายละเอียดของตัว Android เองจะไม่ขอกล่าวในบทความนี้นะครับ
ผมถือว่าทุกคนที่เล่นรู้จักกับ Android กันหมดทุกคนก็แล้วกัน ซึ่งหน้าตาก็ประมาณนี้เลยครับ


แตว่าอุส่าห์ได้อุปกรณ์ใหม่มาทั้งที จะเล่นแค่ Android ได้ไงหล่ะครับ
วันนี้จะมาทำการลง Linux ให้กับ MK802 กันซึ่งในที่นี้จะเป็น Linux ที่มีชื่อว่า

Linaro 12.06

ส่วน Link ในการ Download ก็ตามนี้เลยครับ https://www.miniand.com/forums/forums/development/topics/linaro-12-06-armhf-build
หลังจากที่ Download มาแล้วเราก็จะได้ไฟล์ที่มีชื่อว่า linaro-alip-armhf-t4.7z จากนั้นให้ทำการแตก Zip ออกมาจาก 7zip อาจจะใช้
7Zip หรือว่า Winrar ก็ตามแต่ถนัด จะได้ไฟล์ที่มีชื่อว่า linaro-alip-armhf-t4.img
เมื่อได้ไฟล์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้วก็เข้าสู่กระบวนการเขียนลงใน SD-Card ได้เลยครับ วิธีการไม่ขอกล่าวในที่นี้นะครับ
ให้กลับไปดูบทความของเดือนที่แล้ว ซึ่งจะกล่าวไว้โดยละเอียดในทั้ง 3 ระบบปฏิบัติการ
เมื่อเขียน SD-Card เสร็จเรียบร้อยแล้วก็เตรียมประกอบตามรูปเลยครับ


หลังจากประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้วเปิดเครื่องขึ้นมาก็จะเห็นหน้าตาของ Linux Linaro 12.06 ประมาณนี้เลยครับ


ส่วน Username และ Password ที่ใช้ในการเข้าใช้งานก็จะเป็น
User : miniand
Password : miniand

เราก็สามารถใช้งานเหมือน ubuntu ธรรมดาๆที่เราเคยใช้กันได้เลยครับ


ในที่นี้ลอง Run LXTerminal ดูก็หน้าตาประมาณนี้ครับ


บทความนี้ก็จะกล่าวถึง MK802 ไว้คร่าวๆ แค่นี้ก่อนเดี๋ยวคราวหน้าจะหาอุปกรณ์ตัวใหม่มาให้ลองเล่นกัน
หลังจากนั้นเราค่อยมาประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้ากับงานที่ต้องการในภายหลัง อาจจะใช้ร่วมกัน
หรืออาจจะใช้กับอุปกรณ์อื่นๆเพิ่มเติม เอาไว้คราวหน้าจะมาอัพเดทให้ฟังกันอีกทีนะครับ
           ใครมีโปรเจคที่น่าสนใจก็สามารถแชร์ความรู้กันทาง gtalk หรือทางเมลล์ได้นะครับ
olekhanchai@gmail.com หรือสนใจอุปกรณ์สามารถเข้าสั่งซื้อได้ในเว็บ http://www.hobbyembshop.biz หรือสินค้าโปรโมชั่นที่ https://www.facebook.com/hobbyembedded
ส่วนวันนี้ก็ขอจบการแนะนำอุปกรณ์ MK802 ไว้เพียงเท่านี้ ขอให้สนุกกับอุปกรณ์นี้นะครับ